วันแม่แห่งชาติประจำปี 2563
คำขวัญวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2563
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำขวัญวันแม่แห่งชาติ ประจำปี 2563 ความว่า
“รักเอยรักลูก แม่จึงปลูกคุณธรรมให้รักษา
รดความรักพรวนความดีมีเมตตา ลูกเติบใหญ่แทนคุณค่าของแผ่นดิน”
กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ กำหนดจัดโครงการวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีปลสง เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ และเพื่อให้บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ได้ร่วมกิจกรรมในการส่งเสริมและสืบทอดประเพณี อันดีงามตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ในวันอังคารที่ 11 สิงหาคม 2563 เวลา 08.30 น. ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารคุณากร (ราชภัฏคอมเพล็กซ์) มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในการนี้ จึงขอเชิญบุคลากร นักศึกษา เข้าร่วมพิธีดังกล่าว โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
-
คณะผู้บริหาร แต่งกายชุดปกติขาว ถวายพานพุ่มทอง-พุ่มเงิน
-
คณาจารย์ บุคลากร แต่งกายชุดปกติขาว หรือผ้าไทยสีฟ้าเข้าร่วมพิธี
-
นักศึกษา แต่งกายเครื่องแบบนักศึกษาที่ถูกต้องตามระเบียบมหาวิทยาลัย
กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สำหรับประชาชนชาวไทย
12 สิงหาคม 2563 เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อให้ส่วนราชการและหน่วย งานภาครัฐได้ร่วมแสดงความจง รักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้ทรงปฎิ บัติพระราชกรณียกิจนานับปกา รเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาร าษฎร รัฐบาลเห็นควรดำเนินการจัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติสมเด็ จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชน มพรรษา 12 สิงหาคม 2563 จึงขอเชิญชวนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ดําเนินการ ดังนี้
1.จัดตั้งโต๊ะหมู่ประดิษฐานพร ะฉายาลักษณ์สมเด็จพระนางเจ้ าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
-
พร้อมเครื่องราชสักการะ และจัดที่สําหรับลงนามถวายพ
ระพรชัยมงคล รวมทั้ง ประดับธงชาติไทยคู่กับธงอัก ษรพระนามาภิไธย ส.ก. -
ประดับผ้าระบายสีฟ้าร่วม
กับผ้าระบายสีขาวตามอาคาร สถานที่ของหน่วยงานและบ้านเ รือน ตกแต่งซุ้มและประดับไฟตามสถ านที่และถนนสายหลัก -
จัดทํา คําถวายพระพรชัยมงคลบนหน้าห
ลักของเว็บไซต์ของหน่วยงาน
2. จัดพิธีลงนามถวายพระพรชัยมง คลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรม ราชชนนีพันปีหลวง
-
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชน
มพรรษา 12 สิงหาคม 2563 นําโดยหัวหน้าส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้เ ปิดกรวยกระทงดอกไม้หน้าพระฉ ายาลักษณ์ กล่าวถวายพระพรชัยมงคลและลง นาม ถวายพระพร -
ขอให้จัดในสถานที่เฉพาะพ
ิเศษ และดําเนินการตามมาตรการป้อ งกันการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) -
การแต่งกาย เครื่องแบบปกติขาว ประดับเข็มที่ระลึกเฉลิมพระ
เกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราช พิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ 28 กรกฎาคม 2555 เข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์พร ะราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 และเข็มที่ระลึกเฉลิมพระเกี ยรติ 84 พรรษา 12 สิงหาคม 2559 -
สามารถเผยแพร่ภาพพิธีถวา
ยพระพรชัยมงคลทางเว็บไซต์ขอ งหน่วยงาน
3. เชิญชวนแต่งกายด้วยเสื้อสีฟ้า
-
ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 สิงหาคม 2563 ด้วยความสมัครใจ
พระราชประวัติ
ทรงพระราชสมภพ เมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พุทธศักราช 2475 ที่บ้านพลเอกเจ้าพระยาวงศานุประพันธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) ผู้เป็นบิดาของหม่อมหลวงบัว ณ บ้านเลขที่ 1808 ถนนพระรามหก ตำบลวังใหม่ อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ขณะนั้น เป็นระยะที่ประเทศเพิ่งเปลี่ยนแปลง การปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย ก่อนหน้านั้นพระบิดาของพระองค์ ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก มียศเป็นพันเอกหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 หม่อมเจ้านักขัตรมงคลต้องทรงออกจากราชการทหาร โดยรัฐบาลแต่งตั้งให้ไปรับราชการในตำแหน่งเลขานุการเอก ประจำสถานทูตสยาม ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนหม่อมหลวงบัว ยังคงพำนักอยู่ในประเทศไทย จนให้กำเนิดหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ แล้วจึงเดินทางไปสมทบมอบหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ให้อยู่ในความดูแลของเจ้าพระยาวงศา นุประพันธ์และท้าววนิดา พิจาริณี ผู้เป็นบิดาและมารดาของหม่อมหลวงบัว
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ต้องอยู่ห่างไกลพระบิดามารดาตั้งแต่อายุเพียงน้อยนิด บางคราวต้องระหกระเหินไปต่างจังหวัดกับพระบรมวงศานุวงศ์ตามเหตุการณ์ผันผวนทางการเมือง เช่น ในปีพุทธศักราช 2476 หม่อมเจ้าอัปษรสมาน กิติยากร พระมารดาของหม่อมเจ้านักขัตรมงคล ได้ทรงรับนัดดาตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวไปสงขลาด้วย
ปลายปีพุทธศักราช 2477 หม่อมเจ้านักขัตรมงคล ทรงลาออกจากราชการ กลับประเทศไทยพร้อมครอบครัว อันมีหม่อมราชวงศ์กัลยาณกิติ์บุตรคนโตและ หม่อมราชวงศ์บุษบาบุตรีคนเล็กผู้เกิดที่สหรัฐอเมริกาแล้วมารับหม่อมราชวงศ์ อดุลยกิติ์บุตรคนรอง กับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์จากหม่อมเจ้าอัปษรสมาน กลับมาอยู่รวมกันที่ตำหนักซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนกรุงเกษม ปากคลองผดุงกรุงเกษม ริมแม่น้ำเจ้าพระยา
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เริ่มเรียนชั้นอนุบาลที่โรงเรียนราชินี ปากคลองตลาดในพุทธศักราช 2479 แต่เมื่อสงครามมหาเอเชียบูรพาลุกลามมาถึงประเทศไทย จังหวัดพระนครถูกโจมตีทางอากาศบ่อย ๆ ทำให้การเดินทางไม่สะดวกและปลอดภัย หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ จึงต้องย้ายไป โรงเรียนที่โรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์ และในเวลาต่อมาได้ตั้งใจที่จะเป็นนักเปียโนผู้มีชื่อเสียง
หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ได้เผชิญสภาพของสงครามโลกเช่นเดียวกับคนไทยทั้งหลาย พระบิดาผู้ทรงเป็นทหารเป็นผู้ปลูกฝังให้บุตรและบุตรีรู้จักความมีวินัย ความอดทน ความกล้าหาญ และความเสียสละ โดยอาศัยเหตุการณ์ในสงครามเป็นตัวอย่าง และสงครามก็ทำให้ ผู้คนต้องหันหน้าเข้าช่วยเหลือกันในยามทุกข์ยาก สิ่งเหล่านี้หล่อหลอมให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์มีความเมตตาต่อผู้อื่นและรักความมีระเบียบแบบแผนมาตั้งแต่เยาว์วัย
หลังจากสงครามสงบแล้ว นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น คือ นายควง อภัยวงศ์ ได้แต่งตั้งให้ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลเป็นรัฐทูตวิสามัญและอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำสำนักเซ็นต์เจมส์ ประเทศอังกฤษ หม่อมเจ้านักขัตรมงคลจึง ทรงพาครอบครัวทั้งหมดไป ด้วยในกลางปีพุทธศักราช 2489 ขณะนั้นหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 ของโรงเรียนเซ็นต์ฟรังซิสซาเวียร์คอนแวนต์แล้ว
ระหว่างที่อยู่ในประเทศอังกฤษ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตั้งใจเรียนเปียโน ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกับครูพิเศษ แต่อยู่อังกฤษได้ไม่นานหม่อมเจ้านักขัตร มงคลก็ ทรงย้ายไป ประเทศเดนมาร์กและ ประเทศฝรั่งเศสตามลำดับ ระหว่างนี้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ยังคงตั้งใจเรียนเปียโนอย่างขะมักเขม้น เพื่อเตรียมสอบเข้าวิทยาลัยการดนตรีที่มีชื่อเสียงของกรุงปารีส
พุทธศักราช 2491 ขณะที่หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและครอบครัวอยู่ในปารีส ได้รับเสด็จสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งโปรดเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโรงงานทำรถยนต์ในกรุงปารีสอยู่เสมอ จนเป็นที่คุ้นเคยต่อพระยุคลบาทและต้องพระราชอัธยาศัย ฉะนั้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประสบอุปัทวเหตุทางรถยนต์ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ต้องประทับรักษาพระองค์ในสถานพยาบาล จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หม่อมหลวงบัวพาบุตรีทั้งสอง คือหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์และหม่อมราชวงศ์บุษบาเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทเยี่ยมอาการเป็นประจำ จนพระอาการประชวรทุเลาลง เสด็จกลับพระตำหนักได้ สมเด็จพระราชชนนีได้รับสั่งขอให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์อยู่ศึกษาต่อที่เมืองโลซานในโรงเรียนประจำ Riante Rive ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในการสอนวิชาพิเศษแก่กุลสตรี คือ ภาษา ศิลปะ ดนตรี ประวัติวรรณคดี และประวัติศาสตร์
ต่
อมาอีก 1 ปี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมเจ้านักขัตรมงคลและครอบครัวมาเฝ้าฯ แล้วสมเด็จพระราชชนนีรับสั่งขอหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ต่อหม่อมเจ้านักขัตรมงคล และประกอบพระราชพิธีหมั้นอย่างเงียบ ๆ ในวันที่ 19 กรกฎาคม พุทธศักราช 2492 ทรงใช้พระธำมรงค์ที่สมเด็จพระราชบิดา ทรงหมั้นสมเด็จพระราชชนนีเป็นพระธำมรงค์หมั้น แล้วคงให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ศึกษาต่อไป จนเสด็จนิวัตพระนคร จึงโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ตามเสด็จกลับมาถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ในเดือนมีนาคม พุทธศักราช 2493
วันที่ 28 เมษายน พุทธศักราช 2493 มีพระราชพิธีราชาภิเษกสมรส ณ วังสระปทุม สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นประธานพระราชทานน้ำพระพุทธมนต์และเทพมนต์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย และในวันนั้นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์เป็นสมเด็จพระราชินี
วันที่ 5 พฤษภาคม พุทธศักราช 2493 เป็นวันพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเฉลิมพระบรมนามาภิไธยว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” และทรงสถาปนาเฉลิมพระยศสมเด็จพระราชินีเป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี”
วันที่ 5 มิถุนายน พุทธศักราช 2493 ทั้งสองพระองค์เสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพราะแพทย์ผู้รักษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกราบบังคมทูลแนะนำให้ทรงพักรักษาพระองค์อีกระยะหนึ่ง พุทธศักราช 2494 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี มีพระประสูติกาลสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนราชกัญญาฯ ณ เมืองโลซาน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เมื่อเจริญพระชันษาได้ 7 เดือน ทั้งสามพระองค์จึงเสด็จนิวัตประเทศ ประทับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต หลังจากนั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ ซึ่งต่อมา ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดาฯ ซึ่งต่อมา ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ฯ ได้ประสูติต่อมาตามลำดับ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน รวมพระราชโอรสและพระราชธิดา 4 พระองค์
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เป็นลำดับมา ทั้งในฐานะที่ทรงเป็นสมเด็จพระบรมราชินีของไทยและในฐานะคู่พระราชหฤทัยแห่งพระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว กล่าวคือ ทรงช่วยแบ่งเบาพระราชภาระทั้งหลายไปได้มาก อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย ทรัพยากรธรรมชาติและการพัฒนาประเทศอยู่เนือง ๆ เห็นได้ชัดจากพระราชกรณียกิจที่เผยแพร่สู่สายตาประชาชนอยู่ทุกวันนี้
ที่มา :
https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/33848https://www.posttoday.com/social/royal/629022
https://www.posttoday.com/social/royal/629022
จำนวนผู้เข้าชม : 863